top of page

RECENT POSTS: 

FOLLOW ME:

  • Facebook Clean Grey
  • Instagram Clean Grey

"ทำไม่เสร็จ"

“ทำไม่เสร็จ” คำ ๆ นี้มีอิทธิพลต่อเรามากแค่ไหน เมื่อเรา “ทำไม่เสร็จ”

สำหรับตัวผู้เขียนเองก็คงเหมือนใครอีกหลาย ๆ คน

ที่จะรู้สึกหงุดหงิดเมื่อเรา “ทำไม่เสร็จ”

เพราะเรามีชุดความคิดหนึ่งที่ว่า “ต้องทำให้เสร็จ” ตั้งแต่เด็ก

ยกตัวอย่างเช่น “ต้องทำการบ้านให้เสร็จ”

“ต้องทำงานให้เสร็จ”

“ต้องทำความสะอาดบ้านให้เสร็จ”

ถ้าย้อนถามตัวเองอีกสักครั้ง

“คิดว่าวันนี้ยังทำการบ้านกันอยู่หรือเปล่า”

“คิดว่าวันนี้ยังทำงานเสร็จหรือยัง”

“คิดว่าวันนี้ทำความสะอาดบ้านเสร็จหรือยัง”

ถ้าตอบว่าเสร็จ ณ วันนี้ นี้คือ เสร็จสิ้นจริง ๆ หรือเปล่า

แล้วเคยสงสัยไหมว่า เมื่อเราบอกว่าเสร็จแล้ว เพราะอะไรเราถึงยังต้องทำต่อไปอีก

ผู้เขียนก็เคยสงสัย จนกระทั่ง วันหนึ่งที่ผู้เขียน ลงแข่งขันวิ่ง แล้วต้อง DNF เป็นครั้งแรก และ ต้อง DNF เป็นครั้งที่สอง เพราะด้วยสภาพร่างกายที่ไม่พร้อม

DNF คือ Do not Finish หรือแปลง่าย ๆ ก็คือ “ทำไม่เสร็จ” นั้นเอง

ครั้งแรก ที่ต้อง DNF จากการวิ่งบนเส้นทางเทรล เพราะร่างกายเราไปต่อไม่ได้

ครั้งทีสอง ที่ต้อง DNF ทั้ง ๆ ที่ยังไม่เริ่มวิ่ง เพราะเกิดอาการบาดเจ็บของหัวไหล่แบบฉับพลัน ที่ไม่เกี่ยวกับขา หรือ เท้า แต่ก็ต้องยอมที่จะไม่ลงวิ่งในเส้นทางเทรลที่วางแผนวิ่งมาเป็นปี

จากการ DNF ทั้งสองครั้ง ทำให้นึกย้อนไปถึง โศลกหนึ่งจากคัมภีร์ปตัญชลีโยคสูตร “โยคะ จิตตะ วฤตติ นิโรธะหะ” ซึ่งสถาบันโยคะวิชาการได้ให้ความมหมายไว้ว่า “โยคะเป็นไปเพื่อดับการปรุงแต่งของจิต”

เมื่อจิตบอกว่า DNF นั้นคือ เราได้ดับการปรุงแต่งของจิต แล้วนั้นเอง

เพราะเราต้องยอมรับเหตุแห่งความจริงที่เกิดขึ้นและทำให้ตัวเราเองนั้นเข้าใจและเกิดชุดความคิดเพื่อนำไปใช้ในการ คิด วิเคราะห์ และ แยกแยะ ต่อไป

ดังนั้นแล้ว “ทำไมเสร็จ” แม้อาจจะเกิดเพียงชั่วครู่แต่ได้สร้างการเรียนรู้ ที่สำคัญยิ่ง ในการปล่อยวางของจิต

ผู้เขียนจึงมีความเข้าใจว่า “ทำไม่เสร็จ” จึง “เป็นการทำเสร็จ” เพื่อที่จะ “ทำไม่เสร็จ” ต่อไป

สุดท้ายสวัสดีปีใหม่ครับ

SEARCH BY TAGS: 

ยังไม่มีแท็ก
bottom of page